คลิปการสอน

ในการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จะต้องมีการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และตรงตามความต้องการ โดยหลักในการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล ควรพิจารณา จาก 1 มีการบอกวัตถุประสงค์ในการจัดทำข้อมูล 2 มีการระบุชื่อผู้เขียนหรือผู้ให้ข้อมูล 3 มีการระบุวันที่พิมพ์ หรือวันที่ปรับปรุง เพื่อดูความทันสมัยของข้อมูล 4 มีการอ้างอิงแหล่งที่มา 5 พิจารณาข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้

1. มีการบอกวัตถุประสงค์ในการจัดทำข้อมูล เป็นการแสดงให้เห็นว่าข้อมูลนี้จัดทำเพื่ออะไร เช่น การจัดทำข้อมูลเพื่อใช้ในการเผยแพร่ การจัดทำข้อมูลเพื่อการศึกษา

2. มีการระบุชื่อผู้เขียนหรือผู้ให้ข้อมูล เป็นการระบุให้ทราบว่า ข้อมูลนั้นจัดทำขึ้นโดยใคร หรือมีใครเป็นผู้ให้ข้อมูล

3. มีการระบุวันที่พิมพ์ และครั้งที่ปรับปรุง เป็นการแสดงให้เห็นว่าข้อมูลนั้น ๆ มีการจัดพิมพ์และได้รับการปรับปรุงเมื่อไรเพื่อเป็นการแสดงถึงความทันสมัยของข้อมูล

 4. มีการอ้างอิงแหล่งที่มา เป็นการอ้างอิงว่า ข้อมูลนั้นนำมาจากแหล่งข้อมูลใด

5. พิจารณาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ในการเลือกแหล่งข้อมูลต้องพิจารณาข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐ

โดยสรุป หลักในการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลอยู่ 5 ประการ ครอบคลุม 1 มีการบอกวัตถุประสงค์ในการจัดทำข้อมูล 2 มีการระบุชื่อผู้เขียนหรือผู้ให้ข้อมูล 3 มีการระบุวันที่พิมพ์ หรือวันที่ปรับปรุง เพื่อดูความทันสมัยของข้อมูล 4 มีการอ้างอิงแหล่งที่มา 5 พิจารณาข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้

กิจกรรมที่ 3.2.4 การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล